“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมา แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 10 เดือนครั้งใหม่ที่ 32.70 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงแรก ท่ามกลางกระแสการคาดการณ์ว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะชะลอขนาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ (หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ออกมาอ่อนแอ)
ขณะที่เงินบาทเผชิญแรงขายเป็นระยะในระหว่างสัปดาห์ จากสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับสกุลเงินเอเชียบางส่วนอ่อนค่าลงตามเงินหยวน ซึ่งมีปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่ออกมาอ่อนแอ สะท้อนผลกระทบจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน
อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาแข็งค่าและทดสอบแนว 32.70 บาทต่อดอลลาร์ อีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ท่ามกลางทิศทางแข็งค่าของสกุลเงินเอเชีย ขณะที่ตลาดกลับมารอติดตามสัญญาณดอกเบี้ยของไทยจากผลการประชุม กนง. ในวันที่ 25 ม.ค. อย่างใกล้ชิด
ในวันศุกร์ที่ 20 ม.ค. 2566 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 32.78 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 32.97 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 ม.ค.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 16-20 ม.ค. 2566 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 1,529 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 29,264 ล้านบาท (ขายสุทธิ 26,714 ล้านบาท รวมกับตราสารหนี้ที่หมดอายุ 2,550 ล้านบาท)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สัปดาห์ถัดไป (23-27 ม.ค. 2566) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 32.50-33.00 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และการเคลื่อนไหวของสกุลเงินเอเชีย
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่ ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย อัตราเงินเฟ้อที่คำนวณจาก PCE/Core PCE Price Indices เดือน ธ.ค. จีดีพีไตรมาส 4/65 (ครั้งที่ 1) ดัชนีความเชื่อมั่นและตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคเดือน ม.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือน ม.ค. ของยูโรโซน อังกฤษ และสหรัฐ ด้วยเช่นกัน